เถาวัลย์เปรียง สุดยอดสมุนไพรไทย

รู้จักเถาวัลย์เปรียง



เถาวัลย์เปรียง เป็นพืชไม้เลื้อย เป็นสมุนไพรที่พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย เป็นพรรณไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นช่อสีขาว กลีบรองดอกเป็นสีม่วงดำ ตรงปลายกลีบดอกนั้นจะเป็นสีชมพูเรื่อๆ ได้รับการเชื่อถือและยอมรับในวงการแพทย์พื้นบ้านและแผนปัจจุบันว่ามีสรรพคุณชั้นยอดในการแก้อาการปวดเมื่อย และรักษาโรคอื่น ๆ

ในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง ออกมา ให้เรา ได้เลือกซื้อ กันอย่างหลากหลาย เช่น เถาวัลย์เปรียงชิ้นตากแห้ง แคปซูลเถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เปรียงผสมโสม ฯลฯ เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาอาการปวดเมื่อย และบำรุงสุขภาพ โดยไม่ต้องพึ่งพายา ที่เป็นสารเคมี ล้วนๆ อย่างไรก็ตาม หากใครมีโรคประจำตัว หรือต้องทานยาแผนปัจจุบันอะไรอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนรับประทาน ยาสมุนไพรเพื่อความปลอดภัย


สรรพคุณ

  1. แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีการศึกษาประสิทธิผล และ ผลข้างเคียง ของ สารสกัดเถาวัลย์เปรียง ในการรักษา ผู้ป่วย ที่มีอาการ ปวดหลังส่วนล่าง  จำนวน 70 ราย พบว่า ผู้ป่วย กลุ่ม ที่ได้รับ สารสกัดเถาวัลย์เปรียง ชนิดแคปซูล ขนาด 200 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็น เวลา 7 วัน มีอาการ ปวดหลัง ลดลง ไม่ต่างจาก กลุ่มผู้ป่วย ที่ได้รับ ยาแก้ปวด ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ขนาด 25 มก. วันละ 3 เวลา เท่ากัน
  2. แก้ปัญหาข้อเข่าเสื่อม มีการศึกษาวิจัยใน ผู้ป่วย ข้อเข่าเสื่อม ที่ได้รับ ยานาโปรเซน ขนาด 250 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ มีประสิทธิผล ในการรักษา และ ความปลอดภัย ไม่แตกต่าง จาก ผู้ที่รับ ยาสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ขนาด 400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์  
  3. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ได้มีงานวิจัย ให้อาสาสมัคร สุขภาพดี 59 คน กิน แคปซูล สารสกัดเถาวัลย์เปรียง วันละ 400 มก. เช้า-เย็น เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า สารสกัดเถาวัลย์เปรียง ไม่ก่อ ให้เกิด ผลข้างเคียงใดๆ กับร่างกาย แถมยังช่วยควบคุม หรือ เสริม การทำงาน ของระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ได้จริงๆ
  4. รักษาอาการตกขาว ช่วยรักษา อาการตกขาว ชนิดที่ ไม่มีอาการคัน ไม่มีกลิ่น และ ไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ด้วยการ นำเถาวัลย์เปรียง สับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้ม ดื่มต่างน้ำ หรือ ดื่มวันละ 3 เวลา
  5. ขับโลหิตเสีย ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ช่วยขับโลหิตเสีย ของผู้หญิง โดยการ นำเถาวัลย์เปรียง ทั้งห้วแบบสดๆ นำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ดื่มแทนน้ำเปล่า ช่วยให้ มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น โดยการ นำเถาสด มาทุบให้ยุ่ย แล้ววางทาบ บนหน้าท้อง คุณแม่หลังคลอด จากนั้น นำหม้อเกลือ ที่ร้อน มานาบ ลงบนเถาวัลย์เปรียงอีกที

 

เถาวัลย์เปรียง ใช้แล้วมีผลข้างเคียงหรือไม่ ?

          การใช้สมุนไพรเถาวัลย์เปรียงทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่นเดียวกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่น
          1. ผลข้างเคียงในเรื่องของ ทำให้ผู้ใช้มีอาการท้องผูก ปวดท้อง ปัสสาวะบ่อย  ใจสั่น คอแห้ง อาจมี อาการผิวหนังอักเสบ หรือ แพ้เป็นผื่น
          2. ผลข้างเคียงของการใช้สารสกัดจากเถาวัลย์เปรียง ในเรื่อง ทำให้ผู้ใช้ มีอาการ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และ อุจจาระ เหลว
ศึกษาและเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพร่างกาย สมุนไพรเถาวัลย์เปรียงก็จะมีประโยชน์อย่างมากต่อคุณค่ะ





-->>
๐ ปวดต้นคอ บ่า ไหล่



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คชาบาล์ม ยานวดแก้ปวดสำหรับนักวิ่ง

ดื่มน้ำเซเลอรี่หรือขึ้นฉ่ายฝรั่งดีอย่างนี้