ข้อไหล่ติดในผู้สูงอายุ รักษาได้ด้วยวิธีนี้

ข้อไหล่ติดในผู้สูงอายุ รักษาได้ด้วยวิธีนี้


ข้อไหล่ติด เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่และเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ไม่สุดพิสัยข้อ ทั้งจะขยับเอง หรือ ให้ผู้อื่นช่วยขยับให้

สาเหตุที่ทำให้ข้อไหล่ติด ปัจจุบัน ยั ง ไ ม่ ท ร า บ ส า เ ห ตุ ที่ แ น่ ชั ด แต่ทางการแพทย์พบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ และเยื่อหุ้มข้อเกิดการหนาตัว จนเป็นพังผืด ต า ม ม า ทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวข้อได้ลดน้อยลง พบประมาณ 2-5% ของประชากร ผู้หญิงมักเป็นมากกว่าผู้ชาย มักเกิดกับแขนที่ไม่ถนัด ม า ก ก ว่ า ข้างที่ถนัด ประมาณ 20-30% ของผู้ป่วย มีโอกาสที่จะเกิดไหล่ติดได้ทั้ง 2 ข้าง พบบ่อยในผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วง 40 - 60 ปี และพบว่าผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคของต่อมธัยรอยด์ มีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ติด ไ ด้ ม า ก ก ว่ า คนทั่วไป


อาการของโรคข้อไหล่ติด มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะปวด ระยะข้อติด และระยะฟื้นตัว
  1. ระยะปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกอาการปวดค่อยๆ เป็นมากขึ้น โดยจะปวดเมื่อเคลื่อนไหวข้อไหล่ มีอาการปวดมากตอนกลางคืนถึงขั้นรบกวนการนอน พิสัยการเคลื่อนไหวข้อค่อยๆ ลดลง ระยะนี้มักอยู่นาน 2 - 9 เดือน
  2. ระยะข้อติด อาการปวดจากระยะเริ่มแรกลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในทุกทิศทางลดลงชัดเจน ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก โดยทั่วไป ระยะนี้อยู่นาน 4-12 เดือน
  3. ระยะฟื้นตัว จะปวดลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อยๆ ดีขึ้น ระยะเวลาจะอยู่ในช่วง 5 เดือน - 2 ปี

การวินิจฉัยโรค แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติและการตรวจร่างกายผู้ป่วย สำหรับการตรวจเพิ่มเติม เป็นต้นว่า เอกซเรย์ เอ็มอาร์ไอ การตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ เพื่อคัดกรองโรคอื่น ๆ ออกไป จะทำตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละคน

การรักษา เป้าหมายของการรักษา คือ เพื่อลดความเจ็บปวด เพิ่มพิสัยของการเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ดีขึ้น และสามารถใช้งานข้อไหล่ในการใช้ชีวิตประจำวัน

โดยทั่วไปแล้วข้อไหล่ติดเป็นภาวะที่หายเองได้ ดังนั้นการรักษาแบบประคับประคองตามระยะของโรค วิธีนี้ส่วนใหญ่แล้วจะช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ระยะปวด รักษาแบบเน้นลดอาการปวดอักเสบ แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวดและต้านการอักเสบ ก า ร อ อ ก กำ ลั ง เพื่อคงพิสัยข้อ เมื่อเข้าสู่ ระยะข้อติด ซึ่งอาการปวดจะเริ่มน้อยลง รักษาแบบเน้นการเพิ่มพิสัยข้อ ให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเองโดยการยืดดัดข้อไหล่ทุกวัน ก่อนการดัดข้อไหล่ ควรประคบด้วยแผ่นความร้อน หลังดัดข้อไหล่ใช้แผ่นความเย็นประคบเพื่อป้องกันการอักเสบ หากไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณาส่งทำกายภาพบำบัด โดยการใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนต่างๆ และมีนักกายภาพบำบัดช่วยดัดข้อไหล่ จะช่วยให้อาการเป็นปกติเร็วขึ้น ร่วมกับผู้ป่วยช่วยตนเองด้วยการยืดดัดข้อไหล่ทุกวัน สุดท้ายในระยะฟื้นตัว จะเน้นไปที่การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบบริเวณข้อไหล่

หลังการรักษาอย่างเต็มที่ 4-6 เดือน หากว่าอาการข้อไหล่ติดไม่ดีขึ้น ยังรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณา รักษาโดยการผ่าตัด เช่น การดมยาสลบเพื่อดัดข้อไหล่ หรือ ผ่าตัดส่องกล้องเข้าไปตัดผังผืด หรือ เนื่อเยื่อ ที่ยึดข้อไหล่ อ ย่ า ง นี้ เ ป็ น ต้ น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คชาบาล์ม ยานวดแก้ปวดสำหรับนักวิ่ง

ดื่มน้ำเซเลอรี่หรือขึ้นฉ่ายฝรั่งดีอย่างนี้