วิธีนี้เพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก ก่อนถึงวัยสูงอายุ

วิธีนี้เพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก ก่อนถึงวัยสูงอายุ

ก่อนที่บางอย่างจะเสียไป เราควรใช้อย่างทะนุถนอม และบำรุงรักษาไว้ให้ดีที่สุด

คำกล่าวนี้ไม่ได้พูดถึงความรัก มิตรภาพ  ความสัมพันธ์ หรือ สิ่งอื่นๆ อย่างเลื่อนลอยไกลตัว เพราะแท้จริงแล้ว ยังมีสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก อย่างที่เราควรรู้คุณค่า ก่อนที่เราจะสูญเสียไป นั่นก็คือ สุขภาพ

กระดูก เป็นอวัยวะของร่างกายที่มีความแข็งแรงคงทน สำคัญยิ่งต่อการขยับเขยื้อนร่างกายของเรา ให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ แต่เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกายซึ่งเรามองไม่เห็น เมื่อเกิดความผิดปกติ จนกระทั่งวันที่ร่างกายบางส่วนของเราขยับเขยื้อนไม่ได้ดังใจ หรือเกิดความเจ็บปวดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หากวันนี้เราสามารถบำรุงรักษากระดูกให้แข็งแรงก่อนเริ่มเข้าสู่วัยชราได้ ก็จะช่วยลดอาการบาดเจ็บของกระดูกได้ รวมไปถึงสามารถป้องกันโรคกระดูกได้มากขึ้นอีกด้วย

5 วิธีเพิ่มความแข็งแรงให้กับ “กระดูก” ก่อนเข้าวัยสูงอายุ

1. รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงกระดูก 

หมั่นรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดี ที่ช่วยบำรุงกระดูกในชีวิตประจำวัน (ทานวิตามินดีร่วมกับแคลเซียม เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมไปใช้งานได้) นอกจากนมที่มีแคลเซียมสูงแล้ว น้ำส้ม ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแคลเซียมได้ และที่ขาดไม่ได้ ก็คือ ผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ถูกขัดสีมาก ที่มีแมกนีเซียม และฟอสฟอรัส เนื้อสัตว์ นม ถั่ว ไข่

2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จะช่วยลดภาระให้แก่กระดูกของเราได้เป็นอย่างดี สังเกตง่ายๆ ว่า คนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน จะมีปัญหา ปวดตามข้อ เช่น ปวดเข่า ปวดข้อเท้า เป็นต้น ผู้หญิงวัยหมดวัยประจำเดือน อาจมีความเสี่ยงของน้ำหนักตัวที่สูงขึ้น เมื่อฮอร์โมนเพศเริ่มลดลง จึงควรระมัดระวังในการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่เกณฑ์มาตรฐาน หากใครมีปัญหาเรื่องการควบคุมน้ำหนักตัว ถึงจะทานน้อยแต่ยังอ้วนอยู่ ลองปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการควบคุมน้ำหนัก

3. เลิกสูบบุหรี่ และจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

ทราบไหมว่า การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์มากไป จะเป็นปัจจัย ที่ทำลาย ค ว า ม แ ข็ ง แ ร ง ข อ ง กระดูกได้ ดังนั้น จึงควรงดสูบบุหรี่อย่างถาวร สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดการดื่มไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน

4. ออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

เมื่อออกกำลังกายหัวใจแบบคาร์ดิโอไปแล้ว อย่าลืมเสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ด้วยการเล่นเวท ที่ต้องออกแรงต้านน้ำหนัก ไม่จำเป็นต้องเข้าฟิตเนส หรือ ยกดัมเบลตลอด ก็ได้ แต่เราสามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ง่ายๆ เพียงแค่เดิน วิ่ง เต้น หรือ เต้นแอโรบิกอย่างง่ายๆ ก็ทำได้ เพียงแต่ต้องทำทุกวันเป็นประจำ หรือ ทำ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ30 นาที เป็นอย่างน้อย

5. ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาความเสี่ยง

หากร่างกายส่งสัญญาณเตือนว่า กระดูกของคุณอาจเปราะบาง เช่น ประสบอุบัติเหตุทำให้กระดูกหักกระดูกเปราะอยู่บ่อยๆ ปวดกระดูกตามข้อ เป็นประจำ หรือ เป็นนักกีฬาที่ต้องใช้กระดูกและกล้ามเนื้ออย่างหนัก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ หรือ ในบางกรณีอาจเข้ารับการรักษา เช่น ลดความเจ็บปวดด้วยการฉีดสเตียรอยด์ เป็นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คชาบาล์ม ยานวดแก้ปวดสำหรับนักวิ่ง

ดื่มน้ำเซเลอรี่หรือขึ้นฉ่ายฝรั่งดีอย่างนี้